`

Jump to content





ความแตกต่างระหว่างสาย HDMI ราคาถูกกับราคาแพง


158 replies to this topic

#1 mrzane

    Hi-Def freak

  • DGO Reporter
  • 2802 posts
  • Gender:Male
  • Location:City of Angels

Posted 20 May 2008 - 03:18 PM

สวัสดีครับ มาตามคำเรียกร้องของเพื่อนๆ -- ข้างล่างนี้เป็นบทความ (ทฤษฎีล้วนๆ) เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสาย HDMI ราคาถูกกับสายราคาแพง ซึ่งผมแปลมาจาก article ของนาย RUSirius ที่ US Playstation board ครับ

เนื่องจากเครื่องเกม generation นี้ส่วนใหญ่จะมี HDMI output มาให้ และผมสังเกตเห็นคำถามอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับการเลือกสาย HDMI ก็เลยคิดว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อยครับ

สำหรับคนที่ไม่ได้ติดตามบทความก่อนหน้านี้ ในเรื่อง "720 หรือ 1080… 1080i หรือ 1080p? ที่นี่มีคำตอบ" สามารถดูได้จากลิงค์นี้ครับ
https://dvdgame.online/forums/index....showtopic=97543

ก่อนจะเข้าเรื่อง ขอถล่มตัวก่อนนิด ว่าผมเป็น consultant ไม่ใช่นักแปลนะครับ ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ขออภัยครับ ตรงส่วนท้ายของบทความ มีข้อมูลอ้างอิงที่ผมไปค้นคว้ามาเพิ่มเติมด้วยนะครับ ถือว่าเป็นการ add value ให้กับ post นี้ไปเลยละกัน ขอบคุณครับผม 875328cc.gif

-------------------------------

ความแตกต่างระหว่างสาย HDMI ราคาถูกกับราคาแพง

ที่มา: http://boardsus.playstation.com/playstatio...hread.id=828972
โดย: RUSirius
แปล/เรียบเรียง: mrzane

QUOTE
“คำถาม: สาย HDMI แบบเส้นละ 300 บาท กับเส้นละ 4,000 บาทต่างกันตรงไหน ผมควรจะซื้อแบบไหนดีครับ?”


ผม (ผู้เขียน) เป็นวิศวกรด้านกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ ผมทำงานคลุกคลีอยู่กับสัญญาณอนาล็อก และดิจิตอลอยู่ทุกๆ วัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ผมคิดว่าผมมีคุณวุฒิและคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะตอบคำถามนี้

และคำตอบสำหรับคำถามนี้ก็คือ “ไม่ครับ – สาย HDMI ราคาแพงไม่ช่วยทำให้คุณภาพของภาพและเสียงดีขึ้นแต่อย่างใด”

ผมขออธิบายเหตุผลทางด้านเทคนิคที่ค่อนข้างซับซ้อนก่อน และหลังจากนั้นจะอธิบายในเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งผมหวังว่ามันจะฟังดูสมเหตุสมผลสำหรับคุณ ถ้าคุณไม่อยากอ่านข้อมูลเชิงเทคนิคล่ะก็ ขอแนะนำให้ข้ามไปอ่านใน Section B ครับ

Section A:

ด้วยหลักการง่ายๆ ที่ว่า สายไฟถูกออกแบบมาให้ส่งสัญญาณไฟฟ้า อะไรก็ตามที่ถูกส่งผ่านสายไฟสุดท้ายแล้วเป็นเพียง กระแส/ความต่างศักย์ ที่เราป้อนเข้าไปให้มัน

ก่อนเข้าสู่เรื่องสาย HDMI ขอพูดกันด้วยเรื่องสายอนาล็อกก่อน สัญญาณวีดีโอแบบอนาล็อกที่ส่งผ่านสายนั้นจะเป็นกระแสไฟที่เป็นแบบ 1 volt peak to peak หรืออธิบายง่ายๆ ว่า ถ้าเราวัดความต่างศักย์ของกระแสในสายเส้นนี้ที่ voltage ต่ำสุดกับที่ voltage สูงสุด เราจะวัดได้ 1 volt พอดี สัญญาณอนาล็อกจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามช่วงเวลา (slices of time) ซึ่งจะตรงกับจำนวน “เส้น (lines)” ของสัญญาณที่ส่งไปยังทีวี ผมจะขอไม่ลงในรายละเอียดตรงส่วนนี้ เพราะค่อนข้างเป็นรายละเอียดทางเทคนิคที่ซับซ้อน

พูดง่ายๆ ก็คือ สัญญาณอนาล็อก จะประกอบไปด้วย “front porch” หรือสัญญาณส่วนหน้า ซึ่งสัญญาณส่วนนี้จะเป็นสัญญาณที่บอกคุณลักษณะของสัญญาณวีดีโอที่ปล่อยมาจากแหล่งปล่
อยสัญญาณ ซึ่งสัญญาณในส่วนนี้จะช่วยทีวีของคุณในการกำหนดระดับสีดำ (black level) ของวีดีโอที่จะแสดงบนทีวี และต่อจาก front porch ก็จะเป็นในส่วนของสัญญาณภาพ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นเส้นๆ (lines) โดยจะแบ่งเป็น 455 half cycles ต่อเส้นสัญญาณ 1 เส้นที่แสดงบนทีวี

ขอผมเน้นย้ำอีกครั้ง ว่าผมจะไม่ลงรายละเอียดในเรื่องของการผสมข้อมูลต่างๆ เช่น chrominance (ข้อมูลเกี่ยวกับสี) และ luminance (ข้อมูลเกี่ยวความสว่าง) ลงไปในสัญญาณอนาล็อก เนื่องจากผมเกรงว่ามันจะทำให้บทความนี้ดูซับซ้อนเกินไป ผมขอพูดสรุปตรงนี้ว่าสัญญาณอนาล็อกที่ถูกส่งไปยังทีวีนั้น จะประกอบด้วยข้อมูลของเส้นสัญญาณภาพที่ทีวีจะนำไปแสดงให้คุณเห็น และยังประกอบด้วยสัญญาณข้อมูลอื่นๆ ที่ทีวีไม่แสดงให้คุณเห็น เช่น close captioning และ test signal เป็นต้น

เมื่อคุณใช้เครื่องมือ (scope) ในการดูสัญญาณอนาล็อกที่ส่งไปยังทีวี คุณจะเห็น waveform ที่มีลักษณะคล้ายๆ ภาพดังต่อไปนี้



Waveform หรือ “คลื่น” ที่เห็นในภาพ เป็น waveform ของสัญญาณอนาล็อก ถ้าเราจ้องไปที่ timeslice (ช่วงใดช่วงหนึ่งของคลื่น) เราจะเห็นว่าในช่วงนั้นสัญญาณมันมีความต่างศักย์เท่าใด

ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นการง่ายมาก ที่สัญญาณอนาล็อกจะถูกรบกวน และผสมปนเปไปกับสัญญาณที่เข้ามารบกวนนั้น ซึ่งเมื่อการรบกวนเกิดขึ้น ก็จะทำให้มี noise เพิ่มเข้าไปในสัญญาณ และยิ่งมี noise ในสัญญาณมากขึ้นเท่าไหร่ ภาพที่แสดงบนโทรทัศน์ก็จะด้อยคุณภาพลงเท่านั้น คุณจะเริ่มเห็นเอฟเฟคท์แปลกๆ บนภาพ เช่น จุดลายๆ (snow), เส้นต่างๆ และสีที่ผิดเพี้ยน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะว่า waveform ที่ส่งผ่านสายถูกรบกวนจนมีผลให้สัญญาณที่ส่งมาจากแหล่งกำเนิดผิดเพี้ยนไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเข้าสู่ยุคดิจิตอล (ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงสัญญาณดิจิตอลที่ส่งผ่านสาย HDMI) ข้อมูลที่ส่งผ่านสายสัญญาณจะถูกเข้ารหัส (encoded) ด้วยวิธีที่ไม่เหมือนกับแบบอนาล็อก โดยข้อมูลที่ส่งผ่านสายจะเป็นชุดของบิท (bits) หรือพูดง่ายๆ คือ สัญญาณที่ส่งจะเป็นรหัสที่แสดงว่าข้อมูลเป็น ON หรือ OFF เท่านั้น โดยมันไม่สนใจว่าที่ timeslice นั้นๆ จะมีความต่างศักย์ไฟฟ้าเป็น 4.323 โวลต์ หรือ 4.927 โวลต์ สิ่งที่มันสนใจอย่างเดียวคือว่าสัญญาณตรงนั้นเป็น on หรือ off เท่านั้น เมื่อเราเอาสัญญาณดิจิตอลมาพล็อตเป็นกราฟ จะได้ภาพดังนี้



นี่ล่ะครับสัญญาณดิจิตอล ในแต่ละ slice ของสัญญาณ บิทไหนที่ขึ้นสูง (high) สัญญาณจะเป็น on และบิทไหนที่ลงต่ำ (low) สัญญาณก็จะเป็น off
ด้วยเหตุนี้ ถึงคุณจะผสม noise จำนวนเล็กน้อย หรือจำนวนมหาศาลเข้าไปในสัญญาณดิจิตอลก็ตาม มันก็จะไม่ส่งผลอะไรเลย เพราะยังไงสัญญาณก็ยังเป็น ON หรือ OFF อยู่วันยังค่ำ

ทีนี้เรามาดูการเปรียบเทียบในแบบที่เข้าใจง่ายกันเถอะ

Edited by mrzane, 20 May 2008 - 04:36 PM.


#2 mrzane

    Hi-Def freak

  • DGO Reporter
  • 2802 posts
  • Gender:Male
  • Location:City of Angels

Posted 20 May 2008 - 03:25 PM

Section B:

อนาล็อก: ลองนึกถึงขั้นบันไดสัก 200 ขั้นไว้ในใจนะครับ และให้มีนาย A กำลังไต่บันไดอยู่ สัญญาณอนาล็อก จะเป็นตัวบอกว่านาย A อยู่ที่บันไดขั้นไหน ณ ขณะเวลาหนึ่งๆ และสมมติว่านาย A กำลังเดินขึ้นบันไดไปเรื่อยๆ (เปรียบเสมือนสัญญาณที่ถูกรบกวน และเพี้ยนจากต้นฉบับไปเรื่อยๆ) ตรงนี้ล่ะที่ความผิดพลาดจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ตัวอย่างเช่น สมมติว่า ณ ขณะนั้นนาย A อยู่บนบันไดขั้นที่ 101 แต่ด้วยสัญญาณที่รบกวน คุณอาจจะเข้าใจผิดว่าเขากำลังอยู่ขั้นที่ 102 และยิ่งนาย A เดินขึ้นบันไดสูงขึ้นไปเรื่อยๆ คุณก็จะเริ่มสับสนขึ้นเรื่อยๆ จนไปถึงจุดจุดหนึ่ง คุณจะไม่สามารถบอกได้เลยว่า ณ ขณะนี้นาย A อยู่ที่บันไดขั้นไหนกันแน่

เพิ่มเติมจากผู้แปล: เนื่องจากสัญญาณอนาล็อก เป็นการวัดความต่างศักย์ของกระแส ณ เวลา (timeslice) ขณะใดขณะหนึ่ง สมมติว่า สัญญาณที่มันควรจะเป็น ณ ขณะนั้นคือ 0.75 โวลต์ แต่เนื่องจากมีการรบกวน ทำให้สัญญาณ ณ ขณะนั้น กลายเป็น 0.68 โวลต์ จึงทำให้ทีวีของเราตีความสัญญาณนั้นไม่ถูกต้อง และนำไปสู่การแสดงภาพที่ผิดเพี้ยนนั่นเอง

ดิจิตอล: ลองนึกถึงบันได 200 ขั้นกับนาย A เหมือนเดิมนะครับ – ในกรณีที่เป็นสัญญาณดิจิตอล คุณจะไม่สนใจว่านาย A จะอยู่บันไดขั้นที่ 13 หรือ 15 แต่สิ่งที่คุณสนใจก็คือ นาย A อยู่ “ข้างบน” หรือ “ข้างล่าง” ถึงแม้นาย A จะเดินขึ้นบันไดไปอีกกี่ขั้นก็ตาม และคุณจะไม่สามารถบอกได้อีกต่อไปว่าเขาอยู่บันไดขั้นไหนแล้ว (จะเพิ่มสัญญาณรบกวนหรือ noise ไปมากเท่าใดก็ตาม) แต่สิ่งที่คุณสามารถที่จะบอกได้แน่นอนก็คือ ณ ขณะนั้นนาย A อยู่ “ข้างบน” หรือ “ข้างล่าง” (เป็น “1” หรือ “0” นั่นเอง)

และสมมติว่า นาย A เดินขึ้นบันไดไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่คุณไม่สามารถบอกได้อีกต่อไปว่านาย A เป็น 1 หรือ 0 กันแน่ (เพิ่ม noise เข้าไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่เครื่องรับสัญญาณไม่สามารถแยกแยะได้อีกต่อไปว่าอะไรคือ “ข้อมูล” และอะไรคือ “noise” – ผู้แปล) แต่ก็นับเป็นข้อดีของโลกดิจิตอลครับ คือ อุปกรณ์ดิจิตอลจะไม่ใช้วิธี “เดา” เมื่อมันได้รับสัญญาณ มันจะทำงานได้ แต่ถ้ามันรับสัญญาณไม่ได้ มันจะไม่ทำงานเลย

(เพิ่มเติมจากผู้แปล: ถ้าสัญญาณ HDMI โดนรบกวนมากจนกระทั่งทีวีไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสัญญาณกับ noise ได้ล่ะก็ ทีวีของคุณจะไม่ใช้วิธีการคาดเดา แต่มันจะไม่แสดงภาพเลย)

นี่ล่ะครับเป็นเหตุผลว่าทำไมสายสัญญาณราคาถูกไม่มีผลต่อคุณภาพของสัญญาณดิจิตอล

อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าคุณเผอิญไปได้ยินใครพูดว่าเขาสามารถเห็นความแตกต่างระหว่างการใช้สาย HDMI ราคาถูกกับสายราคาแพง คุณก็สามารถหัวเราะเขาในใจได้เลย เพราะเขาได้เสียเงินจำนวนมากมายไปอย่างไร้ประโยชน์ และไร้จุดหมายครับ

หลายๆ คนอาจพูดว่า สาย HDMI ราคาแพงจะให้เสียงที่ดีกว่า นั่นก็เป็นความเชื่อที่ผิดครับ เพราะสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านสาย HDMI เป็นสัญญาณดิจิตอลเช่นเดียวกับสัญญาณวีดีโอ เพราะฉะนั้นทฤษฎีของขั้นบันไดที่ผมได้กล่าวไปแล้วก็สามารถนำมาใช้ตรงนี้ได้ด้วย... ผมจึงขอเน้นย้ำว่า เนื่องจากมันเป็นสัญญาณดิจิตอล มันจึงไม่มีความแตกต่างอะไรเลยระหว่างสายราคาถูกกับสายราคาแพง

ประเด็นสุดท้าย ผมเห็นหลายๆ โพสท์ที่กล่าวว่า “อย่าลืมซื้อสาย HDMI 1.3 นะ”... ผมขอชี้แจงตรงนี้ว่า เวอร์ชันของ HDMI เป็นการบอกคุณลักษณะ/ความสามารถ (capabilities) ของเครื่องกำเนิดสัญญาณ (เช่น PS3/XBOX) และเครื่องรับสัญญาณ (เช่น LCD TV) เท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายสัญญาณแต่อย่างใด และ HDMI เวอร์ชันหลังๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงแค่เพียงเล็กน้อยในแง่ของความสามารถในการส่งสัญญาณเสียงดิจิตอล*
ด้วยเหตุผลนี้ ตัวสาย HDMI เองจึงไม่มีความแตกต่างในเรื่องของเวอร์ชัน* มันเป็นแค่เรื่องการตลาดของบริษัทผู้ผลิตที่ต้องการขายสายเวอร์ชัน 1.3 ในราคาที่แพงกว่าเวอร์ชัน 1.1 หรือ 1.2 เท่านั้น -- สาย HDMI ที่คุณใช้อยู่ทุกวันนี้ สามารถรองรับอุปกรณ์ HDMI ทุกเวอร์ชันในปัจจุบัน และอนาคตได้อย่างแน่นอน

------------------------------------------------------------
*เพิ่มเติม: จากการค้นคว้าเพิ่มเติมของผู้แปล – มาตรฐาน HDMI 1.3 ได้ระบุชนิดของสายเป็น 2 ชนิด โดย
  • สายประเภทที่ 1 (category 1) ได้ถูกทดสอบที่ bandwidth 74.5 MHz สามารถรองรับสัญญาณแบบ 1080p/720p ได้
  • สายประเภทที่ 2 (category 2) ได้ถูกทดสอบที่ bandwidth 340 MHz สามารถรองรับสัญญาณได้ถึง 1600p
  • สายที่มีขายอยู่ในตลาดในปัจจุบันที่มีความยาวไม่เกิน 15 เมตร ส่วนใหญ่แล้วเป็นประเภทที่ 1
  • คุณลักษณะของสาย category 1 กับ 2 ต่างกันเพียงวัสดุที่ใช้ประกอบสาย ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการป้องกัน noise ในกรณีที่สายมีความยาวเพิ่มขึ้น
ความสามารถของ HDMI 1.3 ที่เพิ่มเติมจาก HDMI 1.2 คือ:
  • เพิ่ม bandwidth ของ single-link เป็น 340 MHz (10.2 Gbit/s)
  • สามารถสนับสนุน Deep color แบบ 30-bit, 36-bit, และ 48-bit xvYCC, sRGB, or YCbCr ในขณะที่เวอร์ชันก่อนหน้านี้สนับสนุน 24-bit sRGB หรือ YCbCr โดยคุณสมบัตินี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าจะใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์ของตนหรือไม่ (optional)
  • เพิ่มความสามารถในการ synchronize ภาพและเสียงอัตโนมัติ
  • สามารถส่ง DTS-MA แบบ bitstream ไปยัง decoder ได้ แต่ในกรณีที่เครื่องเล่นสามารถถอดรหัส DTS-MA ให้เป็น uncompressed PCM ก็สามารถส่งออกผ่านทาง HDMI 1.2 ได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถของ HDMI 1.3
  • เพิ่ม Type C mini-connector สำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น กล้องวีดีโอ

จากข้างบน จะเห็นว่าในปัจจุบันยังไม่มีอุปกรณ์ตัวไหนที่เอาความสามารถข้างบนทั้งหมดมาประยุกต์ใ
ช้ (เช่น deep color หรือ วีดีโอที่ความละเอียด 1600p) เป็นต้น ในปัจจุบันจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหาสาย HDMI ที่เป็น category 2 มาใช้ครับ

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติ HDMI เวอร์ชันต่างๆ จาก Wikipedia



See Also:

720 หรือ 1080... 1080i หรือ 1080p? ที่นี่มีคำตอบ: http://www.dvdgameonline.com/forums/index....showtopic=97543
Wikipedia – Hi-Definition Multimedia Interface: http://en.wikipedia.org/wiki/High-Definiti...media_Interface

Edited by mrzane, 20 May 2008 - 05:10 PM.


#3 xenia

    YammY JammY

  • Royal Executive Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 2501 posts
  • Gender:Male
  • Interests:Male

Posted 20 May 2008 - 03:40 PM

875328cc.gif ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

#4 Burm

    เซียนเกม

  • Admin
  • 12067 posts
  • Gender:Male

Posted 20 May 2008 - 03:48 PM

แปลได้ดีมากครับ ขอชมเลย
วงการนี้มันออกแนวธุรกิจน้ำมันงู ใช้ความเชื่อมาหลอกขายของ
พอมี "ข้อมูลจริง" ออกมาก็จะอ้าง "ลองมาแล้ว" โดยที่ไม่ได้ดูผลลัพธ์จากสิ่งรอบข้างที่มีผลต่อผลลัพธ์นั้นๆ
รวมถึง "ตา/หู" ของเราที่ถูกควบคุมด้วยสมอง ซึ่งมันจะหลอกว่าเราเห็นอะไรก็ได้
เพียงแค่เราคิดว่า มันดีกว่า เราก็จะเห็นว่ามันดีกว่า
แต่ไม่ได้หมายความว่ามันต้องดีกว่าจริงๆ

#5 Guitar_O+

    เซียนเกม

  • High Royal Executive Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 7409 posts

Posted 20 May 2008 - 03:59 PM

ผมก็ว่า มันน่าจะเป้นแบบนี้หนะครับ

เพราะว่า อย่างว่า digital มันมีแค่ signal 10101001

คือจะบอกว่า สายถูกก็ส่ง 101001 เหมือนกัน
สายแพง ก็ ส่งแบบเดียวกัน มันมีแค่ 2 bit
ซึ่งไม่เหมือนกับ analog
แล้ว สายแพง มันจะดีกว่ายังไงหว่า .....

แต่ ข้อมูลเชิงเทคนิค แน่นแบบนี้ แจ๋วครับ

ขอ save ไว้อ้างอิง หน่อยหละกันครับ

#6 bunga

    นักเล่นเกมฝึกหัดระดับ 3

  • High Members
  • PipPipPipPip
  • 148 posts

Posted 20 May 2008 - 04:15 PM

HDMI ถูกหรือแพง ไม่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ของ ภาพ และ เสียง ใช่ไหมครับ

ส่วน Version ของ HDMI เป็นของตัวส่ง และ ตัวรับ สัญญาณ ส่วน สาย HDMI เป็นแค่ตัวกลางเฉยๆๆ ใช่ไหมครับ


5c745924.gif

ยังงงๆอยู่ครับ

#7 coco

    คู่อริพีคุง

  • High Royal Executive Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 5156 posts
  • Gender:Male

Posted 20 May 2008 - 04:26 PM

สำหรับผมจะถูกหรือแพงมันต่างที่วัสดุที่ทำกะอายุการใช้งานแค่นั้นแหละครับ

#8 mrzane

    Hi-Def freak

  • DGO Reporter
  • 2802 posts
  • Gender:Male
  • Location:City of Angels

Posted 20 May 2008 - 04:26 PM

HDMI ถูกหรือแพง ไม่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ของ ภาพ และ เสียง ใช่ไหมครับ

ไม่ใช่ครับผม มันไม่แตกต่างกันเลยต่างหากครับ

ส่วน Version ของ HDMI เป็นของตัวส่ง และ ตัวรับ สัญญาณ ส่วน สาย HDMI เป็นแค่ตัวกลางเฉยๆๆ ใช่ไหมครับ

ถูกต้องครับ 04a97f13.gif

#9 dukdik

    นักเล่นเกมมือฉมัง

  • High Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 369 posts

Posted 20 May 2008 - 04:34 PM

ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว หุหุ ขอบคุณนะครับ baa60776.gif:

#10 Saintangel

    นักเล่นเกมตัวยง

  • High Members
  • PipPipPipPipPip
  • 253 posts

Posted 20 May 2008 - 04:40 PM

บทความดีมากเลยคับ ได้ความรู้เพิ่มเลย ผมก้อเล็งๆ สาย hdmi ไว้อีกเส้นเหมือนกัน จะไปต่อน้อง x

#11 ruicosta

    ขี้เกียจระดับโลก

  • Royal Executive Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 2961 posts
  • Gender:Male

Posted 20 May 2008 - 04:45 PM

น่าลองเอาไปโพสท์ที่เวปหนังห้อง Hi-Def แหะ เพราะแถวนั้นเขาไม่เห็นแบบนี้ แต่ไฟต้องลุกพรึบแน่ๆรอหน่วยกล้าตายคนอื่นทำดีกว่า ( ได้ตายจริงๆแน่ๆ ) พอดีว่าป๊อดครับ 4519626a.gif

ผมว่า 50/50 นะ ทางทฤษฎีมันเป็นแบบนี้แต่หลายคนที่ลองใช้มาทั้งถูกและแพงเขาว่าต่าง บางคนบอกต่างแบบเห็นได้ชัดอีกตั่งหาก ผมว่าถ้ามันแพงต่างกันไม่มากนักก็พอคิดได้ว่ามันเป็นค่าแบรนด์ แต่บางอันราคามันห่างกันเยอะมาก ยังไงมันก็ต้องมีเหตุผลล่ะ แค่ความทนทานราคามันก็ไม่น่าจะต่างกันมากมายขนาดนั้น ก็ต้องวัดกันละระหว่างทฤษฏีกับคนใช้จริงที่อาจจะอุปทานไปเองว่าสวยกว่าเพราะมันแพงกว
่า แต่เขาก็อุปทานกันหลายคนอยู่นะ 154218d4.gif

#12 zar0079

    นักเล่นเกมระดับสูงชั้นที่ 1

  • Executive Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPip
  • 743 posts

Posted 20 May 2008 - 05:02 PM

875328cc.gif ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้นี้
ผมขอถามอีกนิดนะครับ
แล้ว port DVI ละครับ
ผมใช้สาย DVItoHDMI มันจะคุณภาพเดียวกันไหมครับ
ผมต่อจอคอมนะครับ
ขอบคุณครับ

#13 mrzane

    Hi-Def freak

  • DGO Reporter
  • 2802 posts
  • Gender:Male
  • Location:City of Angels

Posted 20 May 2008 - 05:06 PM

QUOTE (zar0079 @ May 20 2008, 05:02 PM) <{POST_SNAPBACK}>
875328cc.gif ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้นี้
ผมขอถามอีกนิดนะครับ
แล้ว port DVI ละครับ
ผมใช้สาย DVItoHDMI มันจะคุณภาพเดียวกันไหมครับ
ผมต่อจอคอมนะครับ
ขอบคุณครับ


HDMI เป็นมาตรฐานที่ต่อยอดมาจาก DVI ครับ จะเรียกว่าเป็นพี่น้องกันก็ได้ โดย HDMI ได้เพิ่มในส่วนของการส่งสัญญาณเสียง และคุณสมบัติอื่นๆ เข้าไปด้วยครับ

และคำตอบสำหรับคำถามของคุณก็คือ "คุณภาพเดียวกันครับ"

http://en.wikipedia.org/wiki/High-Definiti...onship_with_DVI

QUOTE
Relationship with DVI

When HDMI was being developed the primary goal was to add value to the DVI connection by adding audio and content protection.[9][10] DVI signal is electrically compatible with HDMI video signal. No signal conversion needs to take place when an adapter is used and consequently no loss in quality occurs. Stated more technically: HDMI is backward-compatible with the single-link Digital Visual Interface carrying digital video (DVI-D or DVI-I, but not DVI-A) used on modern computer monitors and graphics cards. This means that a DVI-D source can drive an HDMI monitor, or vice versa, by means of a suitable adapter or cable, but the audio and remote control features of HDMI will not be available. Additionally, without support for High-bandwidth Digital Content Protection (HDCP) on the display, the signal source may prevent the end user from viewing or recording certain restricted content.

PCs with hardware HDMI output may require software support from Operating Systems such as Windows Vista. Linux currently supports video output through backward-compatibility with DVI.


#14 TechEnthu

    aka @9JANG

  • High Royal Executive Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 8750 posts
  • Gender:Male
  • Location:13°47'24.9N 100°32'05.4E

Posted 20 May 2008 - 05:07 PM

ขอบคุณความรู้และคำแปลงามๆ ครับ ขอเรียนรู้การใช้ภาษาด้วย :P


May the Force Be With You ceb85dec.gif

#15 t610

    นักเล่นเกมระดับสูงชั้นที่ 1

  • Executive Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPip
  • 905 posts
  • Gender:Male

Posted 20 May 2008 - 05:11 PM

จริงช่วยๆ กันให้ข้อมูลกันก็ดีครับ เพราะตอนนี้มีเหยื่อโดนหลอกทุกวัน อย่างกระทู้นี้ ใครบอกว่าสาย HDMI ถูกๆไม่ต่างอะไรกับของแพง โดนยำเละ โดยเฉพาะนาย AV.อะไรนั่นที่เป็นคนขายสาย บอกชัดๆ HDMI มันส่งสัญญาณแบบ Analog และคนที่แยกไม่ออกระหว่างของแพงกับของถูกเป็นพวกขาดประสบการณ์หรือ system ที่ทดสอบไม่ดีพอไปชิบ




http://forum.thaidvd.net/index.php?showtopic=34169&st=20

นี่คือตัวอย่างที่พี่เขายกมา

QUOTE
ทำไมสายสัญญาน Digital จึงมีผลต่อภาพและเสียงของ system

มีความเชื่อที่เป็นที่แพร่หลายพอสมควรว่า สาย digital นั้น ไม่มีผลต่อภาพ และ เสียงของ System เพราะสัญญาน Digital นั้น เป็นสัญญานของเลข 0 กับ 1 จากต้นทางเป็นเช่นไร ปลายทางก็จะเป็นเช่นนั้น โดยไม่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับโดยเด็ดขาด

ความเชื่อนี้เป็นจริงหรือไม่ ?
ตอบ ไม่จริงครับ

เหตุผล
1. สัญญานที่ส่งไปในสายสัญญาน Digital นั้น เป็น Analog ไม่ใช่ Digital

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
เพราะ การส่งสัญญานเลข 0 หรือ 1 นั้น จะมีการแปลงสัญญานเป็นค่าทางไฟฟ้า เช่น การส่งสัญญาน 0V (0) และ 1V (1) ซึ่งเป็นสัญญาน Analog ไม่ใช่สัญญาน Digital แต่อย่างใด
และเนื่องจาก สัญญานดังกล่าว เป็นสัญญาน Analog ค่าทางสเปคของสายสัญญาน ไม่ว่าจะเป็นค่า Resistance, Capacitance ล้วนแต่สามารถทำให้สัญญานที่ปลายทาง เกิดการผิดเพี้ยนไปได้ทั้งสิ้น
ค่า Resistance, Capacitance หรือ impedance เหล่านี้ จะมีค่าต่างๆกันไป ตามมาตรฐานการผลิตสายสัญญานของผู้ผลิตรายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้
ฉนวนที่ใช้
ความหนาบางของฉนวนที่สม่ำเสมอหรือไม่
การรีดสายให้ได้ขนาดที่สม่ำเสมอ
การทำให้แรงเครียดในสายมีความสม่ำเสมอ
ฯลฯ.
สิ่งเหล่านี้ ล้วนมีผลต่อคุณภาพของสายสัญญาน ซึ่งเป็นเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องของความงมงาย

หรือในขณะที่กำลังส่งสัญญาณ 0V อยู่ ปรากฎว่ามีแรงแม่เหล็กมากพอที่จะสร้างแรงดัน 1V ขึ้นในสาย ในขณะที่กำลังส่งสัญญาณ 0V ตัวแปรผล ก็จะอ่านว่า 1 ไม่ใช่ 0 อย่างที่ควรจะเป็น

Bandwidth ที่จำกัดของสาย จะมีผลต่อการรองรับสัญญานที่จะถูกส่งผ่านไปตามสายสัญญาน ในกรณีของสาย Audio Digital เราจะรู้สึกถึงความอั้นของเสียง หรือ ย่านความถี่ที่ถูกจำกัดไว้ ในกรณีของสาย HDMI เราจะพบว่า ในบางกรณี สายจะไม่สามารถแสดงภาพได้โดยสมบูรณ์ หรือ อาจจะไม่สามารถแสดงได้โดยสิ้นเชิง

ความผิดพลาดของ Impedance ที่เรียกว่า Impedance mismatch ก็จะมีผลต่อสัญญานในขั้นสุดท้ายเช่นกัน

แม้กระทั่ง การ shield สาย ก็มีผลต่อการป้องกันสัญญาน RFI, EMI ที่จะเข้ามารบกวนสัญญานได้ ซึ่งสายคุณภาพต่ำ จะป้องกันสัญญานรบกวนได้ไม่ดีนัก

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ความเชื่อที่ว่า สัญญาน Digital เป็น เลข 0 กับ เลข 1 ไม่มีวันที่จะผิดเพี้ยนโดยเด็ดขาดนั้น
เป็นความเชื่อที่ผิดโดยสิ้นเชิง

2. สิ่งผิดพลาดที่เรียกว่า Jitter
โดยปกติ ระบบสัญญานเสียง Digital ของ CD นั้น จะมีต่าทางเสปคตามมาตรฐาน CD จะส่งสัญญาณที่ 44100 ชุดต่อวินาที ใน 1 ชุดมีค่าทางตัวเลขอยู่ 16 ค่า (16 bit นั่นเองครับ) หรือ 1 ชุดทุกๆ 0.0000227 วินาทีอย่างสม่ำเสมอ ถ้าด้วยเหตุอะไรก็ตาม ทำให้ช่วงเวลานี้ไม่สม่ำเสมอ (Jitter) การแปรผลก็อาจจะผิดพลาดไปได้เช่นกัน สุดท้ายคือ ผลทางภาพและเสียงที่มีคุณภาพด้อยลง


แต่ก็มีคนมากมายที่บอกว่า เขาไม่เคยรู้สึกถึงความแตกต่าง ระหว่างสายสัญญานคุณภาพสูง กับ คุณภาพต่ำเลย
เป็นเพราะอะไร?

เหตุการณ์ดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆปัจจัย
1. คุณภาพของ System และสภาพแวดล้อม ไม่ดีพอที่จะแสดงความแตกต่างออกมาได้
2. ใช้ Software ที่มีคุณภาพต่ำมาทดสอบ
3. ไม่ได้ทำการ setup ระบบให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น
4. การขาดประสบการณ์ของผู้ทำการทดสอบ

1. คุณภาพของ System และสภาพแวดล้อม ไม่ดีพอที่จะแสดงความแตกต่างออกมาได้
ผมเคยอ่านความเห็นของเด็กวัยรุ่นคนหนึ่ง ออกมาแสดงความเห็นอย่างรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องเครื่องเสียง โดยแสดงความเห็นว่า เรื่องราวต่างๆที่มีผู้ให้คำแนะนำนั้น เป็นเรื่องลวงโลก มันไม่เป็นจริงโดยสิ้นเชิง

แต่ผมเห็นเขาถ่ายรูปชุดเครื่องเสียงที่เขาใช้ทดสอบ เขาใช้ PC computer มาเป็นแหล่งสัญญาน ใช้ ลำโพงคุณภาพต่ำ ตั้งตามใจชอบ ในห้องที่ไม่มีการปรับสภาพอคูสติค ไม่มีการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกแต่อย่างใด

แน่นอนครับ เขาย่อมไม่มีทางที่จะฟังออกได้ว่า มีความแตกต่าง เกิดขึ้นหรือไม่
แค่ PC computer ที่เขาใช้เป็นแหล่งสัญญาน ก็เป็นตัวที่ก่อให้เกิดสัญญานรบกวนในตัวมันเองอย่างมากแล้ว ไม่นับถึงเสียงรบกวนต่างๆที่เกิดขึ้นจากภายนอกห้อง

ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถฟังความแตกต่างได้แน่ๆครับ

การใช้ system ที่ดี และการมีสภาพห้องทดสอบที่ดี มีผลต่อภาพ และ เสียง ทีได้อย่างยิ่ง

ห้องฟังเพลง ควรเป็นห้องแยกต่างหาก ป้องกันเสียงผ่านเข้าออก มีการปรับสภาพอคูสติคที่ดีเพื่อป้องกัน early refection มีการสร้างห้องที่ถูกสัดส่วน เพื่อป้องกันปัญหา resonance ของห้อง มีการตั้งตำแหน่งของลำโพง และเครื่องเสียงที่ถูกต้อง และรายละเอียดอื่นๆอีกมาก ซึ่งมีผลต่อเสียงที่ได้

ห้อง Home theater ควรมีการป้องกันแสงรบกวนต่างๆ การปรับแต่งภาพให้ถูกต้องด้วยแผ่นมาตรฐานที่ใช้ในการอ้างอิง การใช้สีของผนังห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้สีผิดเพี้ยนจากแสงสะท้อนจากผนังห้อง เป็นต้น

คุณภาพของ System และสภาพแวดล้อม จึงมีผลอย่างมากต่อผลสุดท้ายที่ท่านจะได้รับ

2. ใช้ Software ที่มีคุณภาพต่ำมาทดสอบ
มีบางท่าน ใช้แผ่น copy ที่ทำมาโดยไม่มีมาตรฐานที่ดีมาทดสอบเครื่อง ซึ่ง software เหล่านั้น จะทำให้ system ของเรา ไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพสูงสุดออกมาได้

หรือ ประเภทเพลงที่ใช้ในการทดสอบ บางท่าน ก็ใช้เพลง Rock, dance มาทดสอบเครื่อง เพลงเหล่านั้น ถูกบันทึกเสียง โดยมีการดัดแปลงแก้ไข ในขั้นตอนการบันทึกเสียงมาอย่างมากมาย ทำให้รายละเอียดของเสียงหายไป ความเป็นธรรมชาติหายไป

เพลงที่ควรใช้ในการทดสอบ ควรเป็น แผ่น ที่บันทึกมาโดยพิถีพิถัน ใช้อุปกรณ์คุณภาพสูง มีการดัดแปลงปรุงแต่งให้น้อยที่สุด เพราะการดัดแปลงในแต่ละขั้นตอนนั้น จะทำให้คุณภาพเสียงด้อยลงในทุกขั้นตอนที่ทำลงไป แผ่นที่เน้นการบันทึกเสียงนั้น บางครั้ง จะใช้ไมค์เพียงตัวเดียว บางครั้งจะเป็นการเล่นพร้อมกันครั้งเดียว หากเล่นผิด ต้องเล่นใหม่หมดทั้งวง ไม่มีการมาแก้ เจาะเป็นจุดๆ เพื่อความเร็วและความสะดวก

เมื่อเราใช้แผ่นที่มีการบันทึกเสียงมาดี เป็นสิ่งอ้างอิง ในการฟังเปรียบเทียบ เราจะรับรู้ได้ทันที เมื่อเราฟังแผ่นดังกล่าว ผ่าน system ที่ดีขึ้น จากรายละเอียดของเสียง จากคุณภาพเสียง ทุ้ม-กลาง-แหลม จาก dynamic ของเสียงและสิ่งอื่นๆ ซึ่งมากมายเกินกว่า จะอธิบายให้ฟังสั้นๆในที่นี้ได้

3. ไม่ได้ทำการ setup ระบบให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น

การ Setup system ให้ถูกต้องนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งรายละเอียดก็มีมากมายอีกเช่นกัน หากว่าเขียนทั้งหมด ก็คงเป็นตำราเล่มหนาๆ ได้เล่มหนึ่งทีเดียว อย่าง เช่นการหาตำแหน่งวาง sub-woofer ที่ถูกต้อง การพยายามลดการสั่น และ resonace ของตัวตู้เป็นต้น ซึ่งผมจะไม่ลงลึกในรายละเอียด เพราะเขียนไม่ไหว และกลัวว่า ท่านที่อ่านจะมึนงงไปเสียก่อน

4. การขาดประสบการณ์ของผู้ทำการทดสอบ
นี่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีผลเช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ ต้องอาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากการได้ดู ได้ฟัง system ที่มีคุณภาพต่างๆกันไป เมื่อได้ฟัง ได้ดู system ที่มีคุณภาพต่างกันแล้ว เราจะรู้ได้เองว่า เสียงที่ได้ยิน ภาพที่เห็นนั้น ต่างกันเช่นไร

สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ ท่านมีโอกาสที่จะสัมผัส system ที่มีคุณภาพสูงจริงๆสักครั้ง

อยากยกตัวอย่างด้วยตัวผมเอง ผมเคยได้มีโอกาสไปฟัง system ที่ใช้ลำโพงราคา ชุดละ 5 ล้านบาท มาครั้งหนึ่ง ย้ำนะครับ 5 ล้านเฉพาะราคาค่าตัวของลำโพงเท่านั้น ยังไม่รวมราคาของชิ้นอื่นๆใน system

บางท่าน อาจจะมีปฎิกิริยาตอบสนองทันทีว่า บ้า เลอะเทอะ เว่อร์ หรืออะไรก็แล้วแต่
แต่ผมขอให้ลืมเรื่องราคาไปก่อน
ผมอยากบอกว่า เสียงที่ได้ยินนั้น ไม่มีอะไรเสมอเหมือน
ไม่มีอะไรเท่าที่ผมได้ฟังมาในชีวิต ที่ให้เสียงแบบนั้นได้เลย
ไม่เคยเจอ ไม่เคยได้ยิน
Dynamic ของเสียงที่ออกมานั้น หาใดเสมอเหมือนไม่ได้

ผมจะรู้สึกเช่นนี้ไหม หากผมไม่ได้มีโอกาสได้ไปฟังเครื่องเสียงชุดนั้น
ไม่แน่นอน...
หากมีใครมาพูดให้ฟัง ผมอาจจะด่าด้วยความหมั่นไส้ว่า ขี้โม้ chip หาย

แต่ผมอยากขอให้ เผื่อใจ เผื่อความเชื่อของคุณไว้ส่วนหนึ่ง
อย่าเพิ่งสรุปอะไรลงไป หากคุณยังไม่ได้มีโอกาสจะไปสัมผัสกับสิ่งเหล่านั้น

คุณสามารถที่จะพบกับประสบการณ์ดังกล่าวได้ จากการไปตระเวนฟัง ตาม system ของคนรู้จัก หรือ ตามงานแสดงเครื่องเสีบงต่างๆ ค่อยๆสะสมความรู้ ประสบการณ์ไปเรื่อยๆ แล้วสิ่งเหล่านี้ จะค่อยสอนให้คุณรู้จักแยกแยะคุณภาพระหว่าง -ดี- กับ –ไม่ดี- ได้เองในที่สุดครับ

สำหรับสาย HDMI นั้น
สรุปง่ายๆครับ
ทดลองโดยเอาสายคุณภาพต่ำ ความยาวสัก 15 m
เทียบกับสายคุณภาพสูง
เล่นที่ resolution 1080p ที่เป็นสัญญาน HD แท้ๆ
ผ่านระบบ Display ที่รองรับ สัญญาน 1080p แท้ๆ โดยไม่มีการ down convert
แล้วดูภาพที่ได้เอง สรุปด้วยตัวท่านเองว่า สาย HDMI นั้น
คุณภาพของสาย
ไม่มีผลต่อภาพที่ได้
จริงหรือไม่ครับ


#16 Ezlo

    นักเล่นเกมระดับสูงชั้นที่ 2

  • Royal Executive Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 1027 posts
  • Gender:Male

Posted 20 May 2008 - 05:12 PM

เห็นได้อย่างนึงจากที่คุณ mrzane ได้บอกไว้ว่า

ถ้ามันใช้ไม่ได้ มันจะไม่แสดงภาพเลย

ซึ่งสายของผมเกิดเหตุการณ์นี้มาสองครั้งแล้ว

คือจู่ๆวันดีคืนร้าย มันก็ไม่แสดงภาพซะงั้น

ทั้งๆที่เมื่อวานยังเล่นได้อยู่เลย

พอมาอีกวันกลับมาใช้ได้ปกติ


อันนี้เป็นคำถามนะ

สาเหตุนี้เกิดจากอะไรหรอครับ แล้วอย่างนี้เกี่ยวกับคุณภาพของสายหรือเปล่า !?!?

#17 rollbacks

    ชายที่เล่นตีดได้ห่วยที่สุดในโลก

  • Royal Executive Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 1680 posts

Posted 20 May 2008 - 05:22 PM

QUOTE (zar0079 @ May 20 2008, 05:02 PM) <{POST_SNAPBACK}>
875328cc.gif ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้นี้
ผมขอถามอีกนิดนะครับ
แล้ว port DVI ละครับ
ผมใช้สาย DVItoHDMI มันจะคุณภาพเดียวกันไหมครับ
ผมต่อจอคอมนะครับ
ขอบคุณครับ




HDMI พัฒนามาจาก DVI นะครับเท่าที่ผมได้ยินและเข้าใจมา ต่างกันตรงที่ DVI จะไม่มีสัญญาณเสียงมาด้วยเท่านั้น แต่ HDMI จะมีในรูปแบบ digital เลย แล้วก็ต่างตรงที่ ลักษณะของหัวต่อเท่านั้นเองครับ เพราะฉะนั้น ถ้าDVIเป็น digital ก็ต้องมีคุณภาพเดียวกันกับ HDMI ครับนอกจากว่าจะใช้ทฤษฎี analogครับ

#18 giggogs

    นักเกมมือเซียนชั้นที่ 2

  • High Royal Executive Members
  • PipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPipPip
  • 3457 posts
  • Gender:Male

Posted 20 May 2008 - 05:25 PM

ขอบคุณครับ 875328cc.gif

#19 Burm

    เซียนเกม

  • Admin
  • 12067 posts
  • Gender:Male

Posted 20 May 2008 - 05:30 PM

QUOTE (Ezlo @ May 20 2008, 05:12 PM) <{POST_SNAPBACK}>
เห็นได้อย่างนึงจากที่คุณ mrzane ได้บอกไว้ว่า

ถ้ามันใช้ไม่ได้ มันจะไม่แสดงภาพเลย

ซึ่งสายของผมเกิดเหตุการณ์นี้มาสองครั้งแล้ว

คือจู่ๆวันดีคืนร้าย มันก็ไม่แสดงภาพซะงั้น

ทั้งๆที่เมื่อวานยังเล่นได้อยู่เลย

พอมาอีกวันกลับมาใช้ได้ปกติ
อันนี้เป็นคำถามนะ

สาเหตุนี้เกิดจากอะไรหรอครับ แล้วอย่างนี้เกี่ยวกับคุณภาพของสายหรือเปล่า !?!?


ใช่ครับ เป็นที่คุณภาพสาย หรือสายมีปัญหานั่นเอง
ตามปกติ ถ้าร้านที่มีการรับประกัน จะต้องให้เปลี่ยนได้ในกรณีนี้ครับ
คือของมันมีปัญหา ซื้อไปแล้วใช้ไม่ได้

เรื่องคำกล่าวอ้างดังกล่าว
ใช่ ถ้าว่ากันตามตรง สัญญาณที่อยู่ในสาย HDMI มันเป็น analog จริงๆ เพราะมันคือ "สัญญาณไฟฟ้า"
แต่เขาไม่เรียกว่าสัญญาณอนาล็อกกัน เพราะตัวรับเขาไม่ได้อ่านค่าทางไฟฟ้าเอาไปใช้งาน
เขาเอาค่าทางไฟฟ้า ไปตัดสินใจว่ามัน "ปิด" (0) หรือ "เปิด" (1)
ฉะนั้นการสูญเสียสัญญาณเพียงเล็กน้อย ตอนส่งแบบ analog จึงไม่มีผลต่อคุณภาพของสัญญาณที่ออกมา

มันก็อย่างที่บอกแหละ เรื่องพวกนี้ พอเอาไปพูด ก็จะถูกหาว่าอย่างโน้นอย่างนี้
อยากรู้ว่า เอาเข้าจริงๆ มีใครกล้าทำ blind test กันไหม?
โดยคนดูแลการ test มีคนจากทั้ง 2 ฝั่ง
และเอาเฉพาะคนที่เห็นว่าต่าง มาเป็นคนทดสอบ

จะบอกว่าคนใน AVSForum เขาใช้กันแต่สายจาก monoprice.com น่ะ
ลองไปดูราคาดิ

#20 mrzane

    Hi-Def freak

  • DGO Reporter
  • 2802 posts
  • Gender:Male
  • Location:City of Angels

Posted 20 May 2008 - 05:37 PM

QUOTE
เหตุผล
1. สัญญานที่ส่งไปในสายสัญญาน Digital นั้น เป็น Analog ไม่ใช่ Digital

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
เพราะ การส่งสัญญานเลข 0 หรือ 1 นั้น จะมีการแปลงสัญญานเป็นค่าทางไฟฟ้า เช่น การส่งสัญญาน 0V (0) และ 1V (1) ซึ่งเป็นสัญญาน Analog ไม่ใช่สัญญาน Digital แต่อย่างใด
และเนื่องจาก สัญญานดังกล่าว เป็นสัญญาน Analog ค่าทางสเปคของสายสัญญาน ไม่ว่าจะเป็นค่า Resistance, Capacitance ล้วนแต่สามารถทำให้สัญญานที่ปลายทาง เกิดการผิดเพี้ยนไปได้ทั้งสิ้น
ค่า Resistance, Capacitance หรือ impedance เหล่านี้ จะมีค่าต่างๆกันไป ตามมาตรฐานการผลิตสายสัญญานของผู้ผลิตรายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้
ฉนวนที่ใช้
ความหนาบางของฉนวนที่สม่ำเสมอหรือไม่
การรีดสายให้ได้ขนาดที่สม่ำเสมอ
การทำให้แรงเครียดในสายมีความสม่ำเสมอ
ฯลฯ.
สิ่งเหล่านี้ ล้วนมีผลต่อคุณภาพของสายสัญญาน ซึ่งเป็นเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องของความงมงาย


อ่านแล้วเครียดเลยครับ แบบนี้น่าจะทำ blind test นะ

อย่างที่คุณ Burm เคย post ไว้ล่ะครับ เรื่องนี้เป็นเรื่องของหมองูจริงๆ ครับ

ถ้าอ้างอิงด้วยทฤษฎี สัญญาณไฟฟ้าที่วิ่งผ่านสาย HDMI มันไม่เหมือน analog ที่อาศัยการวัดความต่างศักย์ของสัญญาณ ซึ่งต้องวัดกันหลายขั้นตอนมากๆ (เหมือนบันได 200 ขั้นที่เจ้าของบทความยกตัวอย่าง) ในขณะที่ HDMI จะวัดแค่การ on กับ off โดยไม่สนใจความต่างศักย์ ถึงแม้จะถูกรบกวนแค่ไหนถ้ามันยังแยก on กับ off ได้อยู่ มันก็ไม่มีผลอะไรครับ

แต่ถ้าอ้างด้วยประสบการณ์ของแต่ละคน เรื่องนี้ subjective ครับ ยังไงหลายๆ คนก็ยังคิดว่า "แพงกว่าย่อมดีกว่า" อยู่ดี

ถ้าถามผมนะครับ ผมตอบว่า เชื่อตาของคุณเองดีที่สุดครับ คนที่ดูทีวีคือคุณเอง ไม่ใช่คนอื่น เพราะฉะนั้นถ้ามีโอกาสลองต่อเทียบดูระหว่างสายถูกกับสายแพง แล้วดูเอาเลยครับว่าอะไรตอบโจทย์ของคุณมากที่สุด ทั้งในเรื่องคุณภาพและเรื่องเงินในกระเป๋าของคุณครับ

QUOTE (TechEnthu @ May 20 2008, 05:07 PM) <{POST_SNAPBACK}>
ขอบคุณความรู้และคำแปลงามๆ ครับ ขอเรียนรู้การใช้ภาษาด้วย :P


May the Force Be With You ceb85dec.gif


แหะๆ ชมแบบนี้เขินเลยครับ ผมเรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองครับ เรียนมาได้สิบกว่าปีแล้ว จำได้ว่าตอนแรกลำบากมากๆ ครับ ยิ่งเรื่องเขียนนี่แล้วใหญ่เลย ตอนเรียนมัธยมผมก็สอบตกวิชาภาษาไทยครับ 154218d4.gif 154218d4.gif 154218d4.gif